ความสามัคคี |
|||
องค์พระศาสดาคุรุ นานักเทพ ทรงสอนให้มนุษย์มีความรักใคร่สามัคคีกัน โดยทรงแสดงธรรมไว้ว่า จงมองผู้อื่นด้วยความรักเช่นเดียวกับที่รักตนเอง | |||
เนื่องจากมนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณที่มาจากพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน เมื่อมนุษย์คิดได้ดังนี้แล้ว ความเห็นแก่ตัวก็จะถูกขจัดออกไปจากจิตใจโดยสิ้นเชิง อันเป็นเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีขึ้นในสังคมได้โดยแท้จริง | |||
เมื่อความสามัคคีเกิดขึ้นในสังคมใดแล้ว ภาระกิจแม้จะยิ่งใหญ่มหาศาลเพียงใด ก็จะสำเร็จผลได้ง่ายอย่างแน่นอน มีนักปราชญ์บางท่านได้กล่าวเพื่อ | |||
สนับสนุน และให้กำลังใจกับกลุ่มชนในสังคมให้เกิดความสามัคคีไว้ว่า ความสามัคคีเท่านั้น ที่สามารถทำให้ 1+1 = 11 ได้ | |||
ข้อควรสังเกต ความสามัคคีพร้อมใจกันนั้น เปรียบเสมือนดาบสองคม กล่าวคือ การที่จะให้พลังอันมหาศาลแห่งความสามัคคีบังเกิดประโยชน์สูงสุดได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องดำเนินไปโดยอาศัยหลักคุณธรรมเป็นสำคัญ |
|||