ประวัติพิธีกรรม "ยัปประโย๊ค" Jap Prayog (เทศกาลถือศีลประจำปีของชาวซิกข์นามธารี) |
||||
ถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของศาสนิกชนชาวซิกข์ นามธารีทั่วโลก |
||||
โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการรวมพลังน้อมจิตรำลึกถึงองค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ราม ซิงห์ ยี มหาราช ซึ่งนับเนื่องได้เป็นพระศาสดาองค์ที่ 12 แห่งศาสนาซิกข์นามธารี จากการที่พระองค์ทรงถูกควบคุม ตัวไปยังประเทศพม่า นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1872 โดยรัฐบาลต่างชาติที่เข้ามา ยึดครองประเทศอินเดีย ซึ่งมั่งคั่งไปด้วยทรัพยากร และเป็นรากฐานแห่งอารยธรรมอันเก่าแก่ที่สุดประเทศหนึ่งของโลก และด้วยเหตุแห่งอุดมการณ์อันสูงส่ง ตลอดจนความแน่วแน่ขององค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ราม ซิงห์ ยี มหาราช ในการที่ทรงเป็นผู้ริเริ่มวิธีการปกป้องผืนแผ่นดิน และวัฒนธรรมอันดี ด้วยวิธีอหิงสา หรือ การไม่ใช้ความรุนแรงเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปเริ่มบังเกิดความเคารพและศรัทธาในองค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ราม ซิงห์ ยี มหาราช มากขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้รัฐบาลต่างชาติในสมัยนั้นเล็งเห็นภยันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับตนได้ จึงตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการเชิญพระองค์ไปควบคุมไว้ยังประเทศพม่านับแต่ นั้น ซึ่งองค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ราม ซิงห์ ยี มหาราช ได้ทรงให้คำมั่นสัญญาต่อสานุศิษย์ของพระองค์ ไว้ว่า "ไม่ว่ามีผู้ใดนำหลักฐานมาแสดงว่าเราได้ เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม จงอย่าได้เชื่อเป็นอันขาด" โดยยัง ทรงตอกย้ำอีกด้วยว่า "จงเชื่อเถิดหากมีผู้กล่าวว่า พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก และตกทางทิศตะวัน ออก แต่จงอย่าเชื่อเป็นอันขาดหากมีผู้กล่าวว่า เราจะไม่กลับมาอีก เพราะเราจะต้องกลับมาในร่างนี้อีก ครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน" |
||||
ซึ่งความเชื่อมั่นศรัทธาในการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งขององค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ราม ซิงห์ ยี มหาราช ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากความเชื่อของศาสนิกชนในทุกศาสนาทั่วโลก ซึ่งต่างก็รอการเสด็จมาของ องค์พระผู้เป็นเจ้าเช่นกันนั่นเอง |
||||
พิธีกรรมการถือศีล สวดมนต์ภาวนา น้อมจิตรำลึกถึงองค์พระศาสดานี้ได้เริ่มจัดให้มีขึ้นในรูปแบบของ เทศกาลประจำปีของศาสนิกชนชาวซิกข์นามธารีเป็นครั้งแรกในสมัยของ องค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ปัรตาป ซิงห์ ยี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยองค์พระศาสดาจะทรงเป็นผู้กำหนดให้มีการเริ่มและจบของ เทศกาลในแต่ละปี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้มีขึ้นในช่วงระหว่างหน้าฝนของทุกปี ซึ่งเป็นที่น่าสังเกต ว่าในช่วงเวลานี้ของทุกปี จะเป็นช่วงที่แทบทุกศาสนาใหญ่ ๆ ในโลกมักจะจัดให้มีพิธีกรรมทางศาสนา ในการถือศีลของตนเช่นกัน เช่น พิธีถือศีลกินเจ ของชาวจีน, พิธีฮัจห์ ของศาสนาอิสลาม, หรือแม้แต่ เทศกาลเข้าพรรษาของศาสนาพุทธ โดยทรงกำหนดศูนย์กลางของการจัดงาน อยู่ที่เมือง ศิริแภณิซาฮิบ รัฐปัญจาป ประเทศอินเดีย และศาสนิกชน ชาวซิกข์นามธารีทั่วโลกที่มีโอกาสได้ไปร่วมเทศกาลนี้ ณ ปูชนียสถานดังกล่าว ต่างก็ถือได้ว่าเกิดมหามงคล ขึ้นในชีวิตตนแล้ว | ||||